หลักเกณฑ์ คุณสมบัติเฉพาะด้านประสบการณ์ สำหรับวิทยฐานะ (ว.17/52) เริ่มใช้ 1 ต.ค.52
1.พรบ.ข้าราชการครูฯ 2547 (ม.54) ครูมีวิทยฐานะใด การเลื่อนเป็นวิทยฐานะใด ต้องผ่านการประเมินทั้งนี้ให้คำนึงถึง
1)ความประพฤติ 2)ประสบการณ์
3)คุณภาพการปฏิบัติงาน 4)ความชำนาญ
5)ความเชี่ยวชาญ 6)ผลงานด้านการเรียน/การสอน
·ภาระงานการสอนครู ประถมฯ ครูมัธยม ไม่ต่ำกว่า 12 ชม. : สัปดาห์
·มีผลการปฎิบัติงานย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกันนับถึงวันที่ยื่นคำขอ
2.เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.52 มุ่งให้ ขรก.ครูฯปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อรองรับการประเมิน ดังนี้
1)เปลี่ยนวิธีการทำงานเน้นกระบวนการทำงานแบบมืออาชีพ ใช้การบริหารจัดการแบบ PDCA /KM/LO
ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือการพัฒนาให้แก่ผู้เรียน ซึ่งต้องมีการรวบรวม
ประจักษ์พยานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างเป็นระบบ และจัดทำรายงานการประเมินตนเอง
ด้านการสอนการพัฒนาผู้เรียน/การบริหาร/การนิเทศ กศ. (Self Assessment Report) แล้วแต่สายงาน
ที่รับผิดชอบ
2)ต้องมีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Resear) เพื่อศึกษา
สภาพปัญหา จุดอ่อน และหาวิธีการแก้ไข วัดผล ประเมินผล และปรับปรุงปฏิบัติงานในหน้าที่ ความ
รับผิดชอบ โดยถือเป็นการทำงานปกติ
ทั้งนี้ รายงานการวิจัย หรือนวัตกรรม หรือความรู้ใหม่ทาง กศ.ที่เสนอขอต้องเป็นชิ้นงานที่ได้
นำไปใช้แล้ว
3)การประเมินยึดผลของการปฏิบัติงานที่เกิดผลต่อผู้เรียนและสถานศึกษา โดยเทียบเคียงกับเกณฑ์
มาตรฐานสถานศึกษา/มฐ.กศ./มฐ.การประเมินระดับชาติ(O-net/A-net/NT)รวมทั้งผลที่เกิดต่อวงวิชาชีพ
ชุมชนและสังคม วิธีการประเมินกำหนด 2 วิธี คือ การประเมินด้วยวิธีปกติและการประเมินด้วย
วิธีพิเศษ โดยผู้ขอรับการประเมินสามารถขอด้วยตนเอง หรือหน่วยงานขอให้ก็ได้
ห้ามผู้ขอรับการประเมินที่มีผลการพิจารณาโทษทางวินัย และหรือจรรยาบรรณวิชาชีพถึงที่สุดแล้วถูกลงโทษหนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ เว้นแต่พ้นจากระยะเวลาโทษที่กำหนดแล้ว
ชนก.ให้อ.ก.ค.ศ.เขตตั้งคณะกรรมการประเมิน ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ความสามารถและด้าน คุณภาพงานเฉพาะส่วนที่ 1 ผลการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน จำนวน 3 คน 1)ผอ.ร.ร.ของผู้รับการประเมิน 2)ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้น 3)ขรก.ครูที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ
ต้องได้คะแนนแต่ละด้านจากคณะกรรมการ3 คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
3.จุดเด่นของวิทยฐานะใหม่ คือ
1)เปิดโอกาสให้ ขรก.ครู และบุคลากรอื่นยื่นประเมิน
ได้ตลอดปี
2)เกณฑ์วิทยฐานะใหม่ การประเมินด้านที่ 2 เรื่องความรู้
ความสามารถ หากประเมินแล้วยังไม่ผ่านสามารถ
ปรับปรุงและเสนอมาใหม่ได้เลย และจะยื่นตอนไหนก็ได้
เมื่อมีความพร้อม
3)ผู้ขอยื่นวิทยฐานะแล้ว ต่อมามีการเปลี่ยนสายงาน
ก็สามารถเปลี่ยนสายงานได้ โดยไม่มีผลให้วิทยฐานะที่ได้ยื่นไว้ครบถ้วนก่อนเปลี่ยนสายงานต้องยกเลิก
4)หากได้รับการประเมินวิทยฐานะใหม่ แต่เงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของสายงานใหม่ ต้องรอให้ถึงก่อน
เงินเดือนขั้นต่ำ1ขั้นของสายงานจึงจะได้วิทยฐานะใหม่